วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2555



   ลักษณะไก่เหลืองหางขาว  


ขนาด     เพศผู้ มีน้ำหนักตั้งแต่ 3 กิโลกรัมขึ้นไป สูงตั้งแต่ 60 เซนติเมตรขึ้นไป (วัดจากใต้ปากล่างตั้งฉากกับ
พื้นที่ยืน)  และ  เพศเมีย มีน้ำหนักตั้งแต่ 2 กิโลกรัมขึ้นไป สูงตั้งแต่ 45 เซนติเมตรขึ้นไป

ลักษณะประจำพันธุ์ไก่ชนนเรศวร   ลักษณะเพศผู้หรือพ่อพันธุ์ไก่ชนนเรศวร
    1. หัว     มีขนาดเล็กคล้ายหัวนกยูง

   1.1    กะโหลก
กะโหลกอวบกลมยาว 2 ตอนส่วนหน้าเล็กกว่าส่วนท้าย
   1.2    หน้า
ลักษณะคล้ายหน้านกยูง มีสีแดงจัด
   1.3    ปาก
รูปร่างคล้ายปากนกแก้ว ลักษณะแข็งแรงมั่นคงมีสีขาวอมเหลือง โคนปากใหญ่ขอบปากและปลายปากคม ปากบนปิดปากล่างสนิท ปากบนมีร่องลึกตังแต่โคน ตรงรูจมูกถึงกลางปาก
   1.4    หงอน
ลักษณะหน้าหงอนบาง กลางหงอนสูง ปลายหงอนกดกระหม่อม มีสีแดงจัด
   1.5    จมูก
รูจมูกกว้างและยาว ฝาปิดรูจมูกมีสีขาวอมเหลือง
   1.6    ตา
มีขนาดเล็ก ตาขาวมีสีขาวอมเหลือง (ตาปลาหมอตาย) มีเส้นเลือดแดงโดยรอบหัวตาแหลมเป็นรูปตัว V มีลักษณะเรียวและสดใส
   1.7    หู
หูทั้งสองข้างมีขน 3 สี คือ สีขาว สีเหลือง และสีดำ ขนหูมีมากปิดรูสนิท ไม่มีขี้หู
   1.8    ตุ้มหู
ตุ้มหูเป็นเนื้อแดงจัดเหมือนสีของหน้าขนาดไม่ใหญ่ และไม่ยาน
   1.9    เหนียง
ต้องไม่มี (ลักษณะคางรัดเฟ็ด)
   1.10  คิ้ว
โหนกคิ้วนูนเป็นสันโค้งบังเบ้าตา


2. คอ    คอยาว (2 วง) และใหญ่ กระดูกข้อถี่

3. ลำตัว   ลำตัวกลมยาว (ทรงหงส์) จัดได้ 2 ท่อน

   3.1  ไหล่
กระดูกซอกคอใหญ่ ไหล่กว้าง
   3.2  อก
อกกว้างใหญ่ กล้ามเนื้อเต็ม กระดูกหน้าอกแข็งแรงโค้งเป็นท้องเรือและยาว (ไม่คดงอ)
   3.3  กระปุกหาง
มีขนาดใหญ่ชิดกับบั้นท้าย
   3.4  ต่อมน้ำมัน
มีขนาดใหญ่ 1 ต่อม อยู่บนกระปุกหาง
   3.5  ตะเกียบก้น
เป็นกระดูก 2 ชิ้น ออกจากกระดูกซี่โครงคู่สุดท้ายยาวมาถึงก้น แข็งแรง หนาโค้งเข้าหากัน และอยู่ชิดกัน


4. ลำตัว   ปีกเมื่อยางออก จะเห็นกล้ามเนื้อปีกใหญ่หนาตลอดทั้งปีก เอ็นยึดกระดูกแข็งแรง ขนปีกขึ้นหนาแน่นมิดชิด
                 มีความยาวเรียงติดต่อกันจนหัวปีก ถึงท้ายปีก และยาวถึงกระปุกหาง

5. ขา   ได้สัดส่วนกับลำตัว

   5.1  ปั้นขา
กล้ามเนื้อโคนขาใหญ่ทั้งสองข้าง เวลายืนโคนขาอยู่ห่างกัน
   5.2  แข้ง
มีลักษณะเรียวเล็กกลม สีขาวอมเหลือง
   5.3  เดือย
โคนมีขนาดใหญ่ ต่ำชิดนิ้วก้อย ส่วนปลายเรียวแหลมคม และงอนเล็กน้อย มีสีขาวอมเหลือง


6. เท้า    มีความสมบูรณ์ คือ นิ้วครบ ไม่คดงอ

   6.1   นิ้ว
มีลักษณะยาว ปลายเรียว มีทองปลิงใต้ฝ่าเท้า นิ้วจะมีปุ่มตรงข้อลักษณะคล้ายเนื้อด้านนิ้วละ 3 ข้อ นิ้วกลางมีเกล็ดตั้งแต่ 20 เกล็ดขึ้นไป ส่วนนิ้วก้อยจะสั้น
   6.2  อุ้งตีน
หนังอุ้งตีนบาง เวลายืนอุ้งตีนไม่ติดพื้น
   6.3  เล็บ
โคนเล็บใหญ่ หนา แข็งแรง ปลายแหลม มีสีเหมือนแข้ง คือขาวอมเหลือง


7. ขน   ขนเป็นมัน เงางามระยับ

   7.1  ขนพื้น
มีสีดำตลอดลำตัว
   7.2  สร้อย
มีลักษณะ “สร้อยประบ่า ระย้าประก้น” คือ สร้อยคอ ขึ้นหนาแน่นยาวประบ่า สร้อยหลังยาวระย้าประถึงกัน มีลักษณะเส้นเล็กละเอียดปลายแหลม ส่วนสร้อยปีกและสนับปีกมีสีเดียวกัน
   7.3  ขนปีก
ปีกนอก (ตั้งแต่หัวปีกถึงกลางปีก) มีไม่น้อยกว่า 11 เส้น
           ปีกใน
(ตั้งแต่กลางปีกถึงปลายปีก) มีสีดำไม่น้อยกว่า 12 เส้น
           ปีกนอก
(ปีกนอกปีกแซม) มีสีขาวไม่น้อยกว่า 2 เส้น เมื่อหุบปีกจะมองเห็นสีขาวแลบออกมาตามแนวยาวของปีก 2 – 3 เส้น เมื่อกางปีกออกจะมองเห็นปีกนอกมีสีขาวเป็นจำนวนมาก


8. หาง   ยาวเป็นพวงและเป็นพุ่มเหมือนฟ่อนข้าว

   8.1  หางพัด
มีข้างละไม่น้อยกว่า 7 เส้น มีสีขาวเป็นจำนวนมาก
   8.2  หางกะลวย
คือ ขนหางคู่กลางซึ่งเป็นหางเอกจะมีสีขาวปลอดทั้งเส้น มีขนรองหางกะลาย หรือหางรับไม่น้อยกว่า 6 เส้น และมีสีขาวเป็นจำนวนมาก
   8.3  ระย้าหลัง
เป็นส่วนหนึ่งที่ต่อจากสร้อยหลัง มีลักษณะปลายแหลมปกคลุมกระปุกหาง ขอบขนมีสีเหลืองเหมือนร้ายหลัง


9. หลัง   หลังแผ่แบนขยายใหญ่

10.  กิริยาท่าทาง

   10.1  ท่ายืน
ยืนยืดอก หัวปีกยก ท่าผงาดดังราชสีห์
   10.2  ท่าเดินและวิ่ง
ท่าเดิน สง่าเหมือนท่ายืน เวลาเดินเมื่อยกเท้าขึ้นจะกำนิ้วทั้งหมด เมื่อย่างลงเกือบถึงพื้นดินจะแบนิ้วออกทั้งหมด เวลาวิ่ง จะวิ่งด้วยปลายนิ้ว และวิ่งย่อขาโผตัวไปข้างหน้าเสมอ
   10.3  ท่าขัน
ขันเสียงใหญ่ ยาว ขอบกระพือปีก และตีปีกแรงเสียงดัง


11.  ลักษณะพิเศษ

   11.1  พระเจ้าห้าพระองค์
คือ หย่อมกระ (มีขนสีขาวแซม) 5 แห่ง ได้แก่ 1. หัว  2. หัวปีกทั้งสอง  3. ข้อขาทั้งสอง
   11.2  เกล็ดสำคัญ
ได้แก่ เกล็ดพิฆาต เช่นเสือซ่อมเล็บ เหน็บชั้นใน ไชบาดาล เกล็ดผลาญศัตรู นอกจากนี้ยังมีเกล็ดกากบาท จักรนารายณ์ ฯลฯ
   11.3  สร้อยคอ สร้อยหลัง สร้อยปีก (สนับปีก)
เป็นสีเหลืองทอง เรียกว่า เหลืองประภัสสร
  11.4  สร้อยสังวาลย์
เป็นสร้อยบริเวณด้านข้างลำตัว มีลักษณะและสีเดียวกับสร้อยคอ และสร้อยหลัง
  11.5  ก้านขนสร้อย และหองกะลาย
มีสีขาว
  11.6  บัวคว่ำ – บัวหงาย
บริเวณด้านใต้โคนหางเหนือทวารหนัก มีขนประสานกันลักษณะแหลมไปที่โคนหางดูคล้ายบัวคว่ำ – บัวหงาย




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น