วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2555

วิธีการผสมพันธุ์ไก่

วิธีการผสมพันธุ์ไก่ชน ไก่ที่จะใช้ผสมพันธุ์ ต้องคัดเลือกจากไก่ตัวผู้ และตัวเมียที่มีความสมบูรณ์ ปราศจากโรคขี้ขาว เป็นหน่อ มะเร็ง คอคอก หวัด เพราะถ้าพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ เป็นโรคแล้วอาจจะมาติดถึงลูกได้ เพื่อให้ได้ผลในการผสมพันธุ์ ควรใช้ตัวผู้ 1 ตัว ต่อ ตัวเมีย 5 ตัวและไม่ควรขังให้อยู่ในเล้าที่จำกัด ควรปล่อยให้อยู่ในที่กว้าง ๆ อาหารต้องสมบูรณ์อาหารที่ใช้คือ ข้าวเปลือก ปลาสด (ควรต้มเสียก่อน) หญ้าอ่อน ถ้าไม่มีหญ้าควรให้ผักสดกิน ถ้าทำเช่นนี้ได้จะได้ลูกไก่ที่สมบูรณ์ (ข้อสำคัญไก่ที่จะทำพ่อพันธุ์ และแม่พันธุ์ ควรนำไปให้ปศุสัตว์ตรวจโรคเสียก่อน)

การเตรียมรังสำหรับฟักไข่

ตามที่กล่าวมาแล้วนั้น กีฬาชนไก่เป็นกีฬาโบราณ ดังนั้นเวลาผสมพันธุ์ หรือทำรังให้ไก่ฟักย่อมมีพิธีรีตองมากเป็นธรรมดา ถ้าทำลำบากมักจะให้ประโยชน์คุ้มค่าเสมอ ท่านต้องหาของที่โบราณเขาถือมาใส่รังไก่ให้ครบ ท่านก็จะได้ไก่ที่ฟักออกมาเก่ง ๆ ทุกตัว
ของที่ใช้ประกอบการฟักไข่มีดังนี้
  1. กระบุง การใช้กระบุงทำเป็นที่รองสำหรับฟักไข่ ก็เพราะว่ากระบุงเป็นภาชนะสำหรับ ใส่ของซื้อ ของขายได้ทีละมาก ๆ จึงเป็นมงคลด้วย
  2. มูลฝอยสำหรับรองรังไข่ ควรใช้ของดังนี้
    • ไม้ฟ้าผ่า (ทำให้ไก่ตีแรง จนให้คู่ต่อสู้ชักดิ้น)
    • คราบงูเห่า (ทำให้แข้งมีพิษ)
    • ทองคำ (ทำให้สีสวย)
    • ไม้คานหักคาบ่า (ทำให้มีลำหักลำโค่น)
    • หญ้าแพรก (เวลาชนทำให้ฟื้นง่ายเหมือนหญ้าแพรก)
  3. การคัดไข่ การเก็บไข่ไว้ฟักควรเลือกไข่ที่สมบูรณ์ไม่บูดเบี้ยว และน้ำหนักมาก ไม่น้อย กว่า 45 กรัม หรือใกล้เคียง ถ้าท่านทำได้ตามนี้ท่านจะได้ไก่เก่งประมาณ 80% การทำรังให้ไก่ฟักไม่ควรให้แดดส่อง หรือฝนสาดได้เพราะจะทำให้ไข่เสีย การฟักแต่ละครั้ง ไม่ควรฟักเกิน 10 หรือ 11 ใบ ถ้าฟักเกินแล้วจะทำให้ไข่เสียมาก ฟักประมาณ

วิธีเลือกไข่ขึ้นฟัก

การเลือกไข่ขึ้นฟัก ใช้สมุดปกอ่อนม้วนเป็นรูปกระบอกแล้ว นำไข่ที่ฟักไปประมาณ 15 วัน ใส่ทางด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งใช้ส่องให้ตรงกับพระอาทิตย์ ถ้าไข่มีเชื้อจะมองเห็นเป็นสีดำสนิท แต่ถ้าไข่ไม่มีเชื้อจะมองเห็นในไข่เป็นแสงสว่าง ไข่ไม่มีเชื้อควรคัดออกได้เลย ถ้าเก็บไว้มาก นอกจากจะทำให้แน่นกันแล้ว จะทำให้ไข่ดีเสียไปมากอีกด้วย

วิธีเลี้ยงลูกไก่

ตามปกติลูกไก่อ่อนเป็นสัตว์ที่เลี้ยงยากมากเพราะจะมีโรคหลายชนิดแล้วยังจะมีสัตว์อื่นรบกวนอีกมากเช่น เหยี่ยว สุนัข งู แมว กา และสัตว์อื่น ๆ อีกหลายชนิด ดังนั้นท่านต้องระวังให้มาก หลังจากลูกไก่ออกแล้วให้นำลูกไก่มาขังไว้ในที่ ๆ สะอาด อย่าให้ลมโกรกมาก เวลานอนควรให้นอนในมุ้งอย่าให้ยุงกัดได้ เพราะจะทำให้เกิดโรคฝีดาษได้ อาหารสำหรับลูกไก่ ในระยะ 10 วันแรก ควรใช้ปลายข้าวกล้องอย่างละเอียด ผสมอาหารไก่อ่อนซึ่งมีขายตามร้านอาหารไก่ คลุกกับน้ำพอเปียกให้กิน ส่วนน้ำใช้ไวตามินผสมให้กินหลังจาก 10 วันไปแล้วใช้ข้าวกล้องเม็ดโตผสมอาหารไก่และน้ำเช่นเดิมให้กินพออิ่มแล้ว ใช้ปลาทะเลหรือปลาน้ำจืดต้มให้สุกปั้นเป็นลูกกลอนเล็ก ๆ ให้กิน หรือผสมกับอาหารไก่ให้กินหลังอาหารแล้ว พออายุประมาณ 1 เดือน เริ่มให้กินข้าวเปลือกเม็ดเล็กได้แล้ว หลังจากกินข้าวเปลือกอิ่มแล้ว ควรให้กินปลาตัวละประมาณเท่าหัวแม่มือทุกวัน ลูกไก่ที่ท่านเลี้ยงจะโตเร็วกว่าปกติ โรคสำหรับไก่ชนเราส่วนมากจะมีโรคร้ายแรงอยู่หลายชนิดด้วยกัน คือ โรคหลอดลมอักเสบ โรคหวัด โรคบิด ไก่ที่เป็นโรคชนิดนี้ส่วนมากกระเพาะอาหารไม่ย่อย หงอยซึมอยู่ตลอดเวลา ควรใช้ยาซัลฟาควินน็อกซาลิน ผสมน้ำตามส่วนให้กิน หรือใช้หยอดก็ได้ติดต่อกัน 3 วัน แล้วเว้น 1 วันจนกว่าจะหาย การเลี้ยงลูกไก่ หลังจากออกจากไข่แล้วประมาณ 10 วัน ควรให้อยู่กับแม่ก่อน สถานที่เลี้ยงไม่ควรให้แฉะ ควรเป็นที่ร่มมีแดดรำไรและที่สำคัญที่สุดต้องมีหญ้า เพราะหญ้าจะเพิ่มวิตามินซีให้กับไก่

http://www.gaichon.com

การหาพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ไก่

การหาพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ไก่

โดยปกตินักเลงเล่นไก่ชนมักจะหวงพันธุ์ของแม่ไก่มากกว่าของพ่อไก่ เพราะถือกันว่าสายเลือดของแม่จะให้ได้ลูกไก่พันธุ์ที่ดี วิธีที่จะหาพ่อพันธุ์ให้ได้ไก่เก่ง ท่านต้องเป็นซอกแซกไปเที่ยวตามบ่อนไก่ชนบ่อย ๆ และคอยดูว่าไก่ตัวไหนที่เก่ง คือตีแม่น ชั้นเชิงดี หัวใจทรหด อดทน ไม่หนีง่าย ถ้าไก่ที่มีคุณสมบัติดังกล่าวนี้ เวลาชนเสร็จแล้วชนะ หรือแพ้ จะตาบอดหรือไม่ก็ตาม เอามาทำพ่อพันธุ์ได้ (ตามตำราบอกว่าเอาไก่ที่แพ้มาทำพ่อไก่มันให้ลูกเด็ดนักแล) ท่านซื้อตอนนั้นราคาอาจจะไม่สูงนัก เพราะนักเลงไก่เขาไม่ค่อยเก็บเอาไว้ แต่ถ้าท่านไม่สามารถทำได้ดังกล่าว ท่านต้องไปหาซื้อเอาตามบ้านนักเล่นไก่ชน ส่วนแม่พันธุ์ก็ควรให้มีคุณสมบัติเหมือนตัวผู้ เพราะการผสมพันธุ์ ถ้าทำโดยวิธีการสุกเอาเผากินแล้วจะทำให้ท่านได้ไก่ดียาก เพราะกว่าจะรู้ว่าตัวไหนดีหรือไม่ดีต้องเสียเวลาอย่างน้อยประมาณ 9 - 10 เดือน
การหาพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ไก่ ไก่ชน

วิธีคัดเลือกแม่พันธุ์ และแม่พันธุ์ไก่

โดยปกตินักนิยมเล่นไก่ชนมักจะเลือกสีเป็นอันดับแรก ดังนั้นไก่ที่จะนำมาเป็นพ่อพันธุ์ควรเลือกจากไก่ที่มีสีดังต่อไปนี้
  1. สีเหลืองหางขาว
  2. สีประดู่หางดำ เดือยดำ เล็บดำ ปากดำ (หรือปากคาบแก้ว)
  3. สีเขียวเลา (มีสีเขียวสลับกับสีขาวทั้งตัว หางขาวด้วย)
  4. สีเขียวกา หรือเขียวแมลงภู่ (หางดำ)
เพราะโบราณกล่าวไว้ว่าไก่ 4 สี นี้เป็นสีที่รักเดิมพันมาก ชนได้ราคาแพง ไม่ค่อยแพ้ ส่วนไก่ สีอื่น ๆ นักเลงเล่นไม่นิยมเล่นกัน เพราะเข้าใจว่าเป็นไก่พันธุ์ผสมมาจากสายเลือดอื่น ที่ไม่ใช่ไก่ชนแท้ อาจจะผสมกับไก่โรดส์ หรือไก่เร็คฮอนก็เป็นได้ น้ำใจไก่พวกนี้จึงไม่ทรหดมาก สำหรับแม่พันธุ์นั้นเวลาใช้ผสมพันธุ์ ควรหาให้เป็นสีเดียวกับพ่อพันธุ์ เวลาให้ลูกจะได้สีเหมือนกัน

คุณสมบัติ และลักษณะของพ่อพันธุ์ไก่

นอกจากสีของไก่แล้ว พ่อไก่ควรมีคุณสมบัติ และลักษณะดังต่อไปนี้
  1. ควรเป็นไก่ที่มีประวัติที่ดี เคยชนชนะจากบ่อนมาแล้ว
  2. ปากต้องใหญ่ มีร่องน้ำ 2 ข้างปากลึก (ปากสีเดียวกับขา)
  3. นัยตาควรเป็นสีขาว (หรือที่เรียกว่าตาปลาหมอตาย หรือตาสีขน สีเดียวกับสร้อยคอ)
  4. คอใหญ่ และปล้องคอถี่ ๆ
  5. หัวปีกต้องใหญ่ และขนปีกยาว
  6. นิ้วเล็กเรียวยาว
  7. เม็ดข้าวสารท้องแข้งใหญ่ และแข้งกลม
  8. สร้อยคอยาวติดต่อกันถึงสร้อยหลัง
  9. หางยาวแข็งและเส้นเล็ก
  10. กระดูกหน้าอกใหญ่และยาว
  11. เดือยใหญ่ และชิดนิ้วก้อยมากที่สุด
  12. อุ้งเท้าบางและเล็บยาว
  13. เกล็ดแข้งใสเหมือนเล็บมือ และมีร่องลึก
ttp://www.gaichon.com

วิธีดูลักษณะไก่ชน

วิธีดูลักษณะไก่ชน

วิธีดูลักษณะไก่ชน ตามปกติลักษณะ และบุคลิกเป็นสิ่งสำคัญไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์ ไก่ชนตัวใดมีบุคลิกลักษณะดี ไก่ตัวนั้นก็มักจะเก่งเป็นส่วนมาก การดูบุคลิกลักษณะไก่ชนที่เก่งมีส่วนประกอบหลายอย่าง
  1. ใบหน้าเล็ก คางรัด
  2. หงอน (หงอนบางกลางหงอนสูง) (หงอนหิน)
  3. ปากเป็นร่องน้ำสองข้างลึก (ปากสีเดียวกับขา)
  4. นัยตาดำเล็ก ตาขาวมีสีขาว (ตาปลาหมอตาย) (หรือตาสีเดียวกับสร้อยคอ)
  5. สีของขน
  6. สร้อยคอต้องยาวติดต่อสร้อยกลางหลัง
  7. ปากใหญ่ยาว
  8. คอใหญ่และกระดูกปล้องคอถี่ ๆ
  9. หางยาวแข็ง
  10. กระดูกหน้าอกใหญ่ ยาว
  11. แข้งเล็ก แห้ง ร่องเกล็ดแข้งลึก และกลม เกล็ดแข้งใส เหมือนเล็บมือ
  12. นิ้วเล็กยาว เล็บยาว
  13. เม็ดข้าวสารนูนเวลาใช้มือลูบจะคายมือ
  14. โคนหางใหญ่
  15. อุ้งเท้าบาง แคร่หลังใหญ่
  16. เส้นขาใหญ่
การดูเกล็ดแข้ง

การดูเกล็ดแข้ง

การดูเกล็ดแข้งก็เหมือนการดูลายมือคน เกล็ดแข้งตามตัวอย่างนี้ มิใช่ว่าไก่ที่มีแข้งแบบนี้แล้วจะไม่แพ้ใคร ลักษณะของการแพ้นั้นมีอยู่หลายวิธี คือ
  1. ไก่ไม่สมบูรณ์หมายถึง เจ็บป่วยโดยที่เราไม่รู้ เรานำไปชนก็มักจะแพ้
  2. เปรียบเสียเปรียบคู่ต่อสู้ คือเล็กกว่าบ้าง ต่ำกว่าบ้างเป็นเหตุทำให้แพ้ได้
  3. ผิดเชิง ไก่บางตัวชอบตีไก่ตั้ง เวลาชนไปเจอไก่ลงตีไม่ได้ก็แพ้ได้เหมือนกัน
เพราะฉะนั้นการดูเกล็ดแข้งจึงจำเป็นที่เราจะต้องรู้ไว้บ้าง แข้งตามตัวอย่างนี้เป็นส่วน ประกอบเวลาท่านจะไปหาไก่ถ้ามีเกล็ดแบบนี้แล้ว ท่านทดลองปล้ำดูพอใจแล้วค่อยเอา ถ้าไก่สมบูรณ์ ชนไม่เสียเปรียบ รับรองว่าชนะมากกว่าแพ้ แต่ว่ารู้สึกว่าจะหายากสักหน่อย

http://www.gaichon.com

เชิงไก่ชน

เชิงไก่ชน

เชิงไก่ชน
  1. เชิงสาด ตีคู่ต่อสู้โดยไม่ต้องจิกหรือที่เรียกว่าสาดแข้งเปล่า
  2. เชิงเท้าบ่า เอาไหล่ชนกันแล้วยืดคอไปจิกบ่าคู่ต่อสู้แล้วตีเข้าท้องหรือหน้าอก
  3. เชิงลง มุดต่ำจิกขาจิกข้าง พอคู่ต่อสู้เผลอโดดขึ้นตี
  4. เชิงมัด มุดเข้าปีก โผล่ไปจิกหัว หู หรือสร้อย แล้วตีเข้าหัว คอ หรือตะโพก
  5. เชิงบน ใช้คอขี่พาด กด ล๊อค ทับ กอด ให้คู่ต่อสู้หลงตีตัวเอง เมื่อได้ทีจะจิกหู ด้านนอก หูใน หรือสร้อยแล้วตีเข้าท้ายทอย
  6. เชิงม้าล่อ หลอกคู่ต่อสู้วิ่งตาม พอได้ทีตีสวนกลับ
  7. เชิงตั้ง ยืนตั้งโด่ จิกสูงแล้วบินตี(เชิงนี้เสียเปรียบเชิงอื่น )
  8. เชิงลายชักลิ่ม เอาหัวหนุนคอหนุนคางคู่ต่อสู้ ลอกให้อีกฝ่ายกดลงแล้วชักหัวออก พอคู่ต้อสู้พลาดก็จิกหัวตี
ไก่เชิงนี้เป็นตัวปราบไก่เชิงบนขี้จุ้ยที่ขี่กอดทับแล้วไม่ตี ในจำนวน 8 เพลงท่านี้ แบ่งแยกได้อีก 15 กระบวนยุทธ คือ
  • เชิงเท้าบ่า แยกเป็น เท้าตีตัว เท้าจิกหลังกระปุกน้ำมัน
  • เชิงหน้าตรง แยกเป็น ตีหน้ากระเพาะ หน้าคอ หน้าหงอน
  • เชิงมัด แยกเป็น มัดโคนปีก มัดปลายปีก
  • เชิงลง แยกเป็น มุดลงจิกขาลงซุกซ่อน ลงลอดทะลุหลัง
  • เชิงบน แยกเป็น ขี่ ทับ กอด ล๊อค มัด
  • เชิงลายชักลิ่ม แยกเป็น ยุบหัว
-->
http://www.gaichon.com/cherng.html

ขั้นตอนในการชนไก่

ขั้นตอนในการชนไก่

ขั้นตอนในการชนไก่ ก่อนนำไก่ออกจากบ้านเพื่อจะนำไปชนที่สนามกีฬาชนไก่ทุกครั้ง เราต้องบอกเจ้าที่เจ้าทางที่บ้านเจ้าของไก่เสียก่อน เพื่อจะเอาฤกษ์ เอาชัย เอาโชค เอาลาภ จะบนบานสารกล่าวอะไร ก็แล้วแต่เจ้าของไก่จะบอก จะให้เจ้าที่ เจ้าบ้านอะไรนี่ก็เป็นเคล็ดลับอันหนึ่งที่คนโบราณนับถือกันมาตลอด จนถึงปัจจุบันนี้ พออุ้มไก่ออกจากสุ่มแล้วก็หงายสุ่มไว้ ห้ามไม่ให้ใครไปเล่นสุ่มที่หงายไว้เป็นอันขาด คนโบราณถือมาก หงายไว้เพื่อเอาเคล็ด จะได้หาคู่ได้ง่ายบ้าง จะได้ไม่ต้องเอากลับมาเลี้ยงต่ออีกบ้าง เพื่อจะได้ชัยชนะกลับมาบ้าง การนำไก่ออกชนทุกครั้งโบราณว่าไว้ ถ้าหันหน้าออกจากบ้านแล้ว ให้เดินหน้าต่อไปห้ามกลับหลังเด็ดขาด ของใช้ต่าง ๆ เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ต้องตรวจตราให้เรียบร้อย ก่อนออกเดินทางทุกครั้ง นี่ก็เป็นการถือเคล็ดอย่างหนึ่งเหมือนกัน อย่างเช่นนำไก่ออกชน 1 ตัวหรือ 2 ตัว หรือมากกว่านั้นก็เหมือนกัน โบราณก็ถือเช่นกัน คือถ้าไก่ได้ชนทั้ง 2 ตัวในคราวเดียวกัน จะต้องมีชนะ 1 ตัว แพ้ 1 ตัว ลองสังเกตดูเองก็แล้วกัน คนสมัยก่อนถือมากครับ ถ้านำไก่ออกชน 1 ตัว หรือ 2 ตัว ถ้าเปรียบได้คู่ 1 ตัว อีก 1 ตัวเอาไว้ยังไม่เปรียบ ถ้าหากคู่ที่เปรียบไว้ได้ชนแพ้ ก็เอาไก่ตัวที่เหลือมาเปรียบใหม่ถ้าได้คู่มีสิทธิ์ชนะได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นเราต้องเชื่อคนโบราณไว้บ้าง แต่ถึงอย่างไรก็แล้วแต่ การเปรียบไก่ทุกครั้งเจ้าของไก่เท่านั้นที่จะเป็นผู้ที่ช่วยเหลือไก่ ให้ได้เปรียบคู่เข้าไว้เป็นการดี แต่พอมาสมัยใหม่นี้ จะมีซุ้มไก่ดัง ๆ ซุ้มใหญ่ ๆ เกิดขึ้นทั่วประเทศไทย มีคนเลี้ยงไก่ ซุ้มละหลาย ๆ คน ที่เลี้ยงไก่ออกชนทีละมาก ๆ ตัว เวลาออกชนก็ออกได้ทีละ 4 - 6 ตัว หรืออาจจะมากกว่านั้น เพราะปัจจัยเป็นสิ่งสำคัญในปัจจุบันนี้ การแพ้หรือชนะถือเป็นเรื่องธรรมดาไปเสียแล้ว ต่างกับสมัยก่อนมากครับ เพราะฉะนั้นพิธีกรรมต่าง ๆ ในสมัยใหม่นี้จะไม่ค่อยมีความสำคัญเท่าที่ควร แต่ก็ไม่ควรลืมเสียเลยนะครับควรเชื่อถือเอาไว้บ้างไม่มากก็น้อยนะครับ เพราะเป็นเรื่องสืบถอดกันมาเป็นเวลานานมาก ถ้าไก่ที่เราเปรียบได้คู่แล้วยังรอเวลาชนอยู่ ให้เจ้าของไก่โปรดระมัดระวังให้ดีอย่าให้ใครเข้ามาใกล้ หรือขอจับไก่เป็นอันขาด เพราะเราไม่รู้ว่าฝ่ายตรงข้ามหรือเปล่า เฝ้าไก่ไว้ให้ดีเพื่อป้องกันการถูกวางยาไก่ของเราเอง ต้องหาเชือกมาล้อมไว้เพื่อไม่ให้ใครเข้ามาในบริเวณที่ขังไก่ไว้เด็ดขาด เพื่อความปลอดภัยของไก่จากการถูกลอบวางยา

กิจกรรม ในขณะที่ชนไก่

ในการนำไก่ออกชนทุกครั้ง เราต้องเตรียมของใช้ในการชนไก่ให้พร้อมเสมอครับ เช่นข้าวปากหม้อ (ข้าวที่เราตักก่อนคนกิน) ตระไคร้ ใบพลู ผ้าสำหรับรมควัน กระเบื้อง เข็ม ด้ายเบอร์ 8 เบอร์ 20 และมีดโกนมีดซอยผม สมุนไพรต่าง ๆ ที่จะนำไปช่วยเหลือไก่ในระหว่างที่ชน เตรียมให้พร้อม การเข้าปากไก่ หรือการคุมปากไก่ ทั้ง 2 อย่างนี้ไม่เหมือนกันนะครับ การคุมปากไก่ก็คือการคุมปากไก่ป้องกันไม่ให้ปากหลุดระหว่างชน (ปากบน) การคุมปากไก่ควรถักให้แน่นพอประมาณ อย่าให้แน่นจนเกินไปจะทำให้ไก่ไม่ตีไก่ ควรถักสัก 4 เปาะ การคุมปากนี้ไม่ต้องใช้เข็มถักก็ได้ แต่ต่างกับการเข้าปากไก่มาก กรณีปากไก่หลุดต้องเข้าใหม่ ต้องเอาสำลีเช็ดเลือดที่ปากให้แห้ง แล้วเอาปากที่เราเตรียมไว้ต่างหากต้มในน้ำร้อนพอประมาณแล้วนำขึ้นมาจุ่มน้ำเย็น เช็ดให้แห้งแล้วนำไปสวมปากแทนปากเดิมที่หลุด แล้วเข้าปากเข้า 4 เปาะ เช่นกัน แต่ต้องดึงด้ายให้ตึงมือมากกว่าคุมปาก เพื่อป้องกันไม่ให้ปากที่สวมไว้หลุดออกระหว่างที่กำลังชนอยู่ พยายามอย่าให้แน่นจนเกินไป ถ้าแน่นเกินไปมากจะทำให้เสียเปรียบคู่ต่อสู้ เราต้องช่วยตัวเราเอง อย่าให้ใครที่มาขอรับอาสาเข้าปากไก่ให้เป็นอันขาด นอกจากพวกของเราเองที่ไว้ใจได้เท่านั้น เพราะพวกที่หวังดีที่จะช่วยคุมปากไก่ หรือคมปากไก่เรานี้ ไม่แน่ใจว่าจะช่วยเราจริงหรือถ้าเข้าปากไปแล้วไก่ไม่ตีไก่โอกาสแพ้มีแน่นอน เพราะฉะนั้นการเลี้ยงไก่ไว้ชนนี้เราต้องเตรียมตัวให้พร้อมทั้งไก่ พร้องทั้งคน ไม่ใช่คนพร้อมแล้ว แต่ไก่ยังไม่พร้อมเราก็อย่าเพิ่มเอาไก่ออกชนเป็นเด็ดขาด อย่าไปเก่งกว่าไก่เป็นอันขาด ไก่จะพร้อมหรือไม่พร้อมอยู่ที่ความสมบูรณ์ของไก่ เจ้าของไก่เท่านั้นจะรู้ว่าไก่สมบูรณ์หรือไม่ อย่าไปเก่งกว่าไก่เป็นอันขาด วันนี้เราชนไม่ได้ เอาไว้ชนวันอื่นก็ได้ บางคนถือว่าวันนี้ออกจากบ้านต้องชนให้ได้ กลัวไก่ค้างนัดบ้าง ขี้เกียจเลี้ยงต่อบ้าง เล็กกว่าก็ชนให้บ้าง ส่วนมากมักจะเป็นอย่างนั้น คือเก่งกว่าไก่ว่างั้นเถอะ ผลปรากฏว่าแพ้เกือบทุกทีไป เพราะฉะนั้นเราอย่าไปเก่งเกินไก่เป็นอันขาด ชนไม่ได้ก็ไม่ต้องชนกลับบ้านไป หรือยังไม่ได้เสียเงินไม่สบายใจ ก็หาเล่นไก่ของคนอื่นต่อไปก็ได้ อย่าไปคิดว่าต้องอยู่ชนไก่ให้ได้ จะทำให้เราเสียเงินเปล่า ๆ

ww.gaichon.com/pitee.html

เรื่องของสมุนไพรไก่ชน

เรื่องของสมุนไพรไก่ชน
สมุนไพรสำคัญสำหรับคนและสัตว์ สมุนไพรที่เอามาใช้กับคนก็ไม่แตกต่างอะไรกับสมุนไพรที่ใช้กับสัตว์ เช่นไก่ชนเลย เพียงแต่มีความแตกต่างกันบ้างในสมุนไพรบางอย่าง ที่อาจจะน้อยหรือมากกว่า ของคนเราเท่านั้น รวมกับขนาด ปริมาณ ที่จะต้องเอามาใช้ด้วย เพราะขนาดรูปร่าง น้ำหนัก ของไก่ที่แตกต่างกว่ารูปร่าง น้ำหนักของมนุษย์เท่านั้น
สมุนไพรกับไก่ชนใช้กันมาช้านาน
สมุนไพรไก่ชน มีอยู่แล้วในสมัยโบราณ เพราะบรรพบุรุษไทยเราท่านนำเอาไก่ชนมาตีกัน ชนกัน เป็นกีฬามาช้านาน ตั้งแต่ยุคสมัยเก่าก่อนยุคสมัยของสุโขทัย เมื่อไก่ชนเกิดอาการเจ็บ ป่วยขึ้นมาจำเป็นจะต้องเอาสมุนไพรมาใช้รักษาอาการเจ็บป่วยนั้น
สมุนไพรไก่ชนน่าสนใจ น่ารู้ และน่ารวบรวมเอามาเพื่อบรรดานักเล่น นักเลี้ยงไก่ชนทั้งหลาย จะได้เข้าใจ และรู้จักมากขึ้น เอาไปใช้ประโยชน์ได้ดี ได้ผล เพื่อเป็นการ ใช้กันอย่างถูกต้อง เหมาะสมตามวิธีการที่สืบทอดต่อเนื่องกัน
สัตว์เล็กๆ มีประโยชน์
ในสมัยก่อนนั้น นอกจากเอาข้าวเปลือกให้ไก่ชนได้กินอย่างดีแล้ว สิ่งที่เป็นอาหารชั้นดีของไก่ชนก็จะต้องเป็นแมลงต่างๆ สัตว์ตัวเล็กๆที่มีอยู่เป็นต้นว่า เขียดตัวเล็กๆ หอยบางชนิด ที่แกะเอาแต่เนื้อมาให้ไก่กิน
จิ้งจก จัดว่าเป็นอาหารไก่ชนชั้นเยี่ยมในยุคสมัยโบราณเอาให้ไก่กินเสมอๆไก่ชนของท่านที่เลี้ยงไว้จะร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรงกำลังดีแข็งแกร่งฉกรรจ์ยิ่งนักทีเดียว
ปลวก การเอาตัวปลวกมาให้กินนับว่ายอดเยี่ยมยิ่งนัก ขุดเอาดินจอมปลวกที่มีปลวก เอามาสับๆไก่ชนจะชอบเป็นพิเศษนี่ก็ได้พลังร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแกร่งมาก
กระดูกก็สำคัญสำหรับไก่ชน
กระดูกไก่เล็กๆ โครงไก่ เอามาสับละเอียด ให้ไก่กินก็เยี่ยมเช่นกัน เป็นอาหารสดที่มาจากเนื้อสัตว์ที่ดี ได้แคลเซียมยมจากกระดูกสัตว์ดังกล่าวอีกด้วย การเอาสมุนไพรบางอย่างมาผสมกับอาหารไก่ชนก็เป็นเรื่องที่ดีมากอีกอย่างหนึ่ง โดยการเอาสมุนไพรที่เหมาะสมมาโขลกละเอียดเสียก่อน แล้วเอามาผสมกับอาหาร ซึ้งแล้วแต่ว่าผู้เลี้ยงไก่แต่ละราย จะต้องการอย่างไร อาจจะเอาสมุนไพรบางอย่างที่โขลกหรือบดละเอียดมาผสมเข้าไปด้วย เช่น ใส่ผสมลงไปกับโครงไก่สับ ผสมรวมกัน คลุกเคล้ารวมกันไปกับลำข้าวก็ยังได้อีกด้วย เป็นการกินอาหารไป พร้อมกับกินสมุนไพรที่เอาไปบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย หรือช่วยย่อย คุมธาตุ ทำให้ระบบการย่อย อาหารเป็นไปได้ด้วยดี หากการกินอาหารหลักเพียงอย่างเดียว เช่นข้าวเปลือก อาการขาอ่อนก็จะเกิดขึ้น ร่างกายอาจจะขาดสารอาหารบางอย่างก็ได้ ยิ่งถ้ากักขัง เอาไว้ในเล้า ในสุ่ม ไก่ชนไม่ได้ออกกำลังกาย ไม่ได้จิกตัวแมลงกิน ไก่ชนก็อ่อนแอลงเรื่อยๆ เมื่อเลี้ยงเป็น เลี้ยงดี ก็ทำให้ไก่ชนได้รับอาหารที่มีคุณค่า มีสารอาหารที่ดี มาเสมอรวมกับได้รับยาสมุนไพรที่เป็นประโยชน์อีกทำให้มีภูมิต้านทานโรคที่สูงท้องไส้ระบบการย่อยอาหารก็ดีเป็นปกติ เพราะกินยาสมุนไพรคุมธาตุช่วยย่อยขับถ่ายดี เพราะมีการ ระบายด้วย อาหาร และยาสมุนไพรไปในตัวเวลากินอาหาร ร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรงดีมาก เพราะมีโอกาสกินยาสมุนไพรบำรุงเข้าไปรวมกับอาหาร อาหารสดๆที่กล่าวมานั้น เป็นอาหารจากธรรมชาติที่ยอดเยี่ยมในการเอามาให้ไก่ชนกิน เพราะมีคุณค่ามากมายในโภชนาการที่เป็นอยู่
พืชสมุนไพรสำคัญสำหรับไก่ชน
พืชสมุนไพรทั้งหลายนั้น จะต้องทราบด้วยว่าจะเอาส่วนใดมาปรุงเป็นยาได้บ้าง
หัว หรือ เหง้า ซึ่งเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งของพืชที่อยู่ใต้ดิน เช่น เหง้ากระชาย เหง้าข่า เหง้าขิง เหง้าขมิ้น ฯลฯ
ราก ของยาสมุนไพรก็เอามาปรุงเป็นยาได้ด้วยเช่น รากต้นถั่วพู รากต้นมะพร้าว รากไทรย้อย รากชะพลู ฯลฯ
เมล็ด เป็นส่วนหนึ่งของพืชสมุนไพร ที่เอาเมล็ดมาปรุงเป็นยาสมุนไพรก็ได้ เช่น เมล็ดพริกไทยดำ เมล็ดข่อย เมล็ดแมงลัก ฯลฯ
แก่น ของต้นสมุนไพรก็เช่นเดียวกัน มีหลายชนิด เช่น แก่นสัก แก่นขนุน แก่นขี้เหล็ก แก่นจำปา ฯลฯ
ใบ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพืชสมุนไพรได้ดี ใบจากพืชสมุนไพรมีมากมายหลายชนิดทีเดียว เป็นต้นว่า ใบฝรั่ง ใบมะกรูด ใบชะพลู ใบพลับพลึง ใบเตยหอม ฯลฯ
ยอดอ่อน นี่ก็เป็นส่วนหนึ่งของต้นพืชคือ ยอดอ่อนนั้นเอง เป็นต้นว่า ยอดแค ยอดผักบุ้งนา ยอดกระเฉด ยอดกระถิน ฯลฯ
ผล ของพืชสมุนไพรก็มีอยู่เช่น ผลมะตูม ผลสมอ ผลมะระ ผลมะยม ฯลฯ
เกสรดอกไม้ เอาส่วนของเกสรดอกไม้มาใช้ประโยชน์ก็ได้เช่นเดียวกัน เป็นต้นว่า เกสรบัวหลวง เกสรดอกคำฝอย เป็นต้น
พืชสมุนไพรต่างๆนั้น เอายังสดๆ หรือตากแห้งแล้วก็ได้ บางทีเอามาใช้อย่างอ่อน หรืออย่างที่แก่ก็ได้ ใบอ่อน ใบแก่ ฝักอ่อน ฝักแก่ ส่วนมากแล้วจะระบุเอาไว้อย่างชัดเจน ทีเดียว อย่างขิงก็เช่นเดียวกัน เป็นขิงอ่อน หรือ ขิงแก่จะต้องบ่งบอกเอาไว้ในตำรายาเสมอ เพื่อให้ผู้ปรุงยาได้ทราบอย่างถูกต้องตรงตามตำหรับยาเสมอ สมุนไพร บางอย่างนั้น บางทีจะต้องทำให้อ่อนลงมาเสียก่อน ไม่เช่นนั้นก็มีสรรพคุณที่แรงมากเกินไปได้อาจจะเกิดอันตรายขึ้นมาทำให้ผู้ป่วยเมาหรือเกิดพิษอย่างเช่น เมล็ดสลอด ยางของต้นสลัดได (กระบองเพชร ) ชะมดเช็ด เป็นต้น สมุนไพรบางชนิดอาจจะเสื่อมคุณภาพลงไปก็ได้ เช่น เก็บเอาไว้นานเกินสมควรคุณภาพก็เปลี่ยนแปลงไป อ่อนสรรพคุณลง ออกฤทธิ์ไม่ได้นานเท่าที่ควรอย่างที่เป็นสมุนไพรใหม่ๆ การเอาสมุนไพรมาปรุงเป็นยาจึงต้องระมัด ระวัง อย่างมาก สมุนไพรไก่ชนสำคัญมากต้องใช้ "จะต้องเอามาใช้อย่างดี ถูกต้อง เพราะความถูกต้องนั้นคือหัวใจของการใช้สมุนไพรที่ดี "
การเก็บเอาเหง้าหรือหัวของสมุนไพรใต้ดิน
ก่อนอื่น จะต้องมีความระมัดระวังอย่าให้หัวหรือเหง้าของพืชสมุนไพรที่กำลังขุด เกิดการฉีก ขาด เสียหาย ชอกช้ำ เป็นอันขาด แม้การเอาสมุนไพรชนิดที่เป็น เหง้าหรือหัวนี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อาจจะมีความละเอียดอ่อนมากกว่าการไปเอา ใบ เปลือก ดอกเสียด้วยซ้ำการขุดจะต้องพิจารณาดูให้ดีขุดโดยรอบเป็นบริเวณกว้าง เสียก่อนจึงค่อยๆขุดเข้าไปหาเหง้าหรือส่วนหัวทีละน้อย อย่าง ปราณีต บรรจง เพื่อป้องกันการเสียหายดังกล่าว เมื่อได้มาแล้วก็นำมาล้างด้วยน้ำสะอาด ต้องระวัง อย่าให้เปลือกนอกชอกช้ำเป็นอันขาด เกิดริ้วรอยตำหนิขึ้นมาแม้จะเล็กน้อยก็ไม่ดีเลย
เหง้า หัว สมุนไพรบางอย่างอาจจะต้องเอามาตากแห้งอีก เพื่อให้น้ำที่อยู่ภายในระเหยออกไปให้หมด แล้วจึงเก็บเอาไว้ในโหล ภาชนะปิดฝาสนิทแน่น ถ้าเกิดเป็น เหง้า หัว ที่มีขนาดใหญ่กว่าธรรมดาอาจจะต้องเอามาหั่น เอามาฝาน เป็นชิ้นเล็กๆ บางๆ ก่อนก็ได้ การเก็บสมุนไพรทั้งหลายนี้ มีข้อกำหนดว่า หากเป็นพืชสมุนไพรที่เป็น เหง้า หัว ถ้าจะให้ดีถูกต้องตามตำราโบราณ ควรขุดเอาตอนที่สมุนไพรกำลังออกดอก ซึ้งมีความหมายถึงพืชสมุนไพรนั้นแก่จัด สรรพคุณทางยามากมายที่สุด
การเก็บเอาดอกของพืชสมุนไพรมาปรุงยาอย่างถูกต้อง

ตามตำราโบราณระบุเอาไว้ว่า สมควรเลือกเก็บเอาดอกไม้ที่เป็นดอกสมุนไพรทั้งหลายในเวลาที่กำลังเริ่มเบ่งบานออกมา เรียกว่ากำลังแรกแย้มออกมาจะดีที่สุด เป็นเวลาที่พืชกำลังแก่จัด มีสรรพคุณทางยาที่ดีมากที่สุด มีสารสำคัญทางยาที่มีอยู่เป็นจำนวนมากที่สุดในช่วงเวลานี้ ดอกที่ตูมก็ไม่ดี ดอกที่บานจนมากที่สุดแล้วก็ไม่ดีพอ ดอกที่บานจนโรยราก็ไม่ดีอีกเช่นกัน
ใบพืชสมุนไพร
ตำราระบุเอาไว้ว่า ให้เก็บเอาใบพืชสมุนไพรที่เรียกว่า เพสลาด มาใช้ประโยชน์ ก็จะต้องเก็บเอาตามนั้น ใบเพสลาด ก็หมายถึงใบที่ไม่แก่และไม่อ่อนจนเกินไป อ่อนไปก็ไม่เหมาะแก่เกินไปก็ไม่ดี สรรพคุณทางยาอ่อนลงไปแล้ว จึงกำหนดเอาใบที่ไม่แก่ ไม่อ่อนจนเกินไปเท่านั้น จะได้สรรพคุณทางยาที่เต็มเม็ด เต็มหน่วยมากกว่า
การทำให้พืชสมุนไพรแห้งอย่างถูกวิธี
ไม่มีอะไรดีไปกว่าการตากแดดให้แห้ง
การอบ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง อบให้แห้งแล้วก็ทำลายเชื้อต่างๆที่อาจจะมีอยู่ในสมุนไพรนั้นๆ แล้วเก็บสมุนไพรนั้นเอาไว้นานๆโดยไม่เสียหาย ไม่เสียสรรพคุณทางยาไปไหน เพียงแต่เป็นการไล่น้ำที่มีอยู่ให้ระเหยออกไปเท่านั้น เหลืออยู่แต่สารที่สำคัญของสมุนไพรแต่ละชนิดอย่างเข็มข้น สามารถนำมาใช้ปรุงยาได้อย่างมีสรรพคุณที่ดีเสมอ เพียงเก็บเอาไว้อย่างดี อย่าให้เกิดความชื้น ขึ้นรา เกิดมีตัวมอดมากัดกิน หรือมีฝุ่นละอองเข้าไปสร้างความสกปรกเข้าเท่านั้น
เก็บพืชสมุนไพรที่ถูกต้อง ทำอย่างไร ?
เมื่อได้สมุนไพรที่ดีมาแล้วอย่างถูกต้องสมุนไพรที่แห้งสนิท ผ่านการตาก หรืออบแห้งมาแล้ว ในทางที่ควร ให้บรรจุลงในภาชนะที่มีฝาปิดสนิทแน่นอากาศผ่าน เข้าไปไม่ได้ ภาชนะก็แห้งสนิท ปราศจากความชื้น ทำให้พืชสมุนไพรที่เก็บเอาไว้มีสรรพคุณทางยาที่ดีอยู่เสมอไม่เสื่อมคุณภาพโดยง่าย
ระวังเรื่องแมลงหรือสัตว์บางชนิดมารบกวน แสงแดด แสงสว่าง เป็นอันตรายแก่สมุนไพรได้ พืชสมุนไพรที่ตาก หรืออบแห้งดีแล้วนั้น หากเก็บเอาไว้ในที่ สว่างมากหรือมีแสงแดดส่องถึงอยู่ทุกวันๆนั้น ทำให้เสื่อมสลายลงไปได้ คุณภาพจะด้อยลงไปเรื่อยๆ การเก็บควรเอาไว้ในที่มืดๆจะดีกว่าในที่สว่างมากๆ
การเก็บสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหยก็สำคัญ
ต้องเก็บเอาไว้อย่างมิดชิด ป้องกันการระเหยของน้ำมัน เก็บเอาไว้ในภาชนะเช่น ขวดโหล ภาชนะที่มีฝาปิดสนิทแน่นจริงๆ
เปลือกของพืชสมุนไพร
ก่อนอื่นจะต้องอย่าลืมว่าจะต้องได้เปลือกที่จัดได้ว่าเป็นต้นแก่เพียงพอแล้ว ไม่ใช่เอามาจากต้นอ่อนๆ ยังไม่มีสรรพคุณทางยาที่มากมายเพียงพอ ในการไปเอาเปลือกสมุนไพรที่มีชื่อว่าต้นตะโกนา จะต้องปฏิบัติตามตำราเอาไว้ ต้นโต ต้นสูงมากแล้ว อายุนั้นจัดได้เลยว่าจะต้องไม่น้อยกว่า 3 ปี จึงจะเอามา ใช้ผลได้ดี ปรุงยาได้สรรพคุณแน่นอน
การเอาเปลือกสมุนไพรมาจากลำต้นก็เป็นเรื่องสำคัญทีเดียว
ในการเอาเปลือกสมุนไพรมาจากต้นที่แก่ได้ที่แล้วนั้นมีวิธีการสำคัญ ควรเลือกเอาในเวลาตอนบ่ายแก่ๆจะดีที่สุด ในเวลาที่อากาศร้อนๆนั้นแหละวิเศษหนักหนา มองเห็นแสงแดดสาดส่องไปที่ลำต้นนั้นอย่างชัดเจน เนื่องจากเป็นเวลาที่ต้นไม้เกิดการสังเคราะห์กับแสงแดดอยู่พอดีตามธรรมชาติที่เป็นอยู่กับออกซิเจน ส่วนของใบก็กำลังมีขบวนการชีวะสังเคราะห์ปรุงอาหารอยู่อีกด้วย เพราะรากของต้นไม้ก็ดูดซึมดูดเอาน้ำเลี้ยงอันเป็นยอดอาหารขึ้นมาจากรากใต้ดินขึ้นมา ทางลำต้น ทางเปลือกไม้โดยรอบลำต้น ต่อเนื่องกันมาถึงกิ่งก้าน จนไปสู่ใบทีเดียว เปลือกของลำต้นไม้สมุนไพรกำลังมีสารสำคัญปรากฏอยู่มากตาม ธรรมชาติ สรรพคุณทางยามีมากก็อยู่ในเวลานี้ด้วย การกรีดเปลือกจะต้องเอามีดคมๆ กรีดลงที่เปลือกต้นไม้เป็นรูปสี่เหลี่ยมยาวๆ ลงไปตามลำต้น ห้ามกรีด ขวั้นรอบๆลำต้นเด็ดขาด กรีดเปลือกเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ดึง ลอกเอาเปลือกออกไปทันที แล้วเอาปูนแดงทาเอาไว้ที่แผลเปลือกที่ถูกลอกเอาไปให้ทั่ว ป้องกันเชื้อราไม่ให้ มาทำอันตรายต้นไม้ที่บาดแผลนี้ได้ง่ายๆ
สำหรับการไปเอาเปลือกสมุนไพรในเวลาสายๆก็เป็นไปได้ สมควรลอกเอาเปลือกในเวลาก่อนเที่ยงวันก็จะดี เช่นในเวลา11.00 น.เลือกเอาในส่วนที่สัมผัสกับแสงแดด จะได้สรรพคุณทางยาได้มากกว่าที่อื่นๆ
วิธีการเอาเปลือกสมุนไพรที่บริเวณกิ่ง
วิธีการก็ได้แก่ กรีด ลอก เอาเปลือกมาจากส่วนโคนกิ่งใหญ่ จัดการล้างน้ำให้สะอาด เอาเศษผง เศษความสกปรกออกไปให้หมดสิ้น ขูดด้วยคมมีดเอาส่วนที่เป็นผิวของ เปลือกที่เป็น ขุย เป็นเศษผงสกปรกพอกอยู่เอาออกไปด้วย ล้างทำความสะอาดให้ดี แล้วเอามาหั่นเป็นชิ้นบางๆ หั่นในเวลาสดๆจะสะดวก ง่ายดายกว่ามาก
วิธีนึ่งให้สุก
คือการเอามานึ่งให้สุก นึ่งเพื่อฆ่าเชื้อต่างๆ ให้หมดไป แล้วเอามาตากแดดให้แห้งสนิทอีกครั้ง หรือจะเอาไปอบแห้งก็ได้ แล้วเก็บเอาไว้ในภาชนะที่เหมาะสม ปิดมิดชิด
เถาสมุนไพร ควรเก็บเอามาทำอย่างไรดี ?
พืชสมุนไพรที่เป็นเถา มีอยู่มากมาย เช่น บอระเพ็ด เถาวัลย์เปรียง พลู โคคลาน คนทีสอขาว โคกกระออม คัดเค้า ชะเอมไทย ชะเอมจีน ตีนเป็ดเครือ ทองระอา สะค้าน ส้มป่อย สีฟันเครือการเอาพืชสมุนไพรที่เป็นเถามาใช้ประโยชน์ จะต้องเลือกเอาที่มีอายุมากเพียงพอถึงจะมีสรรพคุณทางยาที่มาก อย่างน้อยก็น่าจะมีอายุมากเกินกว่า 3 ปี การเก็บรักษาก็เหมือนๆกัน
สมุนไพรที่เป็นเหง้า หัว เล็กๆ
เมล็ดพริกไทย
เป็นสรรพคุณทางยาที่ดีในด้านขับลม ช่วยย่อย แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อท้องขึ้นได้ดี วิธีการเก็บรักษาก็เหมือนกัน
เมล็ดข่อย
สมุนไพรที่เป็นเม็ดคล้ายๆกับเม็ดพริกไทย วิธีการเก็บรักษาก็เหมือนกัน เอามาปรุงผสมผสานกับตัวยาอื่นๆได้เสมอ เรื่องความสะอาดสำคัญมากในการปรุงยา

โรคของไก่กับการป้องกัน

โรคของไก่กับการป้องกัน
ข้อควรปฏิบัติให้ภูมิคุ้มกันโรคไก่ ลูกไก่แรกเกิด จนอายุล่วงมาถึง 7 วันต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกัน โรคนิวคาสเซิล ลูกไก่อายุ 14 วัน ต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษ ลูกไก่อายุ 21 วัน ต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรคหลอดลมอักเสบ ลูกไก่อายุ 30 วัน ต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรค อหิวาต์
โรคของไก่กับการป้องกัน


อย่าลืมว่าไก่ทั้งหลายนั้นมีโรคติดต่อที่ร้ายแรงมาก เกิดระบาดขึ้นมาเมื่อไรแล้วไก่ก็จะติดเชื้อ เกิดการเจ็บป่วยอย่างรุนแรง ระบาดไปทั่วบริเวณใกล้เคียงและอาจระบาด ไปได้ไกลๆ ข้ามจังหวัดก็ได้ เพราะคนเราติดเชื้อแล้วเดินทางไปไหนมาไหนกันอยู่แล้ว จึงพาเอาเชื้อโรคระบาดของไก่นี้ไปด้วย เที่ยวไปปล่อยเอาไว้ที่นั้นที่นี่ได้โดยง่าย
โรค นิวคาสเซิล

ถ้าเป็นโรคของไก่แล้วละก็โรค นิวคาสเซิล เป็นโรคที่ร้ายแรงมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นไก่บ้าน หรือไก่พื้นเมือง หรือไก่แจ้
อาการของโรค
เมื่อไก่ได้รับเชื้อเข้าไปแล้ว ไม่ช้า ไม่นานก็เริ่มออกอาการ เงื่องหงอย เหงา ซึม ยืนนิ่งเฉย ปีกตกลู่ลงมา หงอน เหนียงก็ซีดเซียว จากนั้นก็เป็นสีคล้ำ ผิดปกติ เวลาขี้ออกมาจะเห็นได้ทันทีว่าเป็นสีเขียวๆ ชาวบ้านเรียกว่า โรคขี้เขียว หากไก่เกิดมีอาการขี้เขียวขึ้นมาเมื่อไรก็หมายความว่าเกิดโรคร้ายแรงมากขึ้นแล้ว เพราะโรคขี้เขียว นี้ไม่ปราณีชีวิตไก่ตัวไหนเลย
ไก่ที่เป็นโรคนี้ บางตัวนั้นจะมีอาการหัวตกลงเบื้องล่าง โงหัวไม่ขึ้นเลยหรือบางทีแหงนคอแล้วบิดมาทางเบื้องหลังก็ได้ โรคนิวคาสเซิล นี้จำเป็นจะต้องมีการป้องกัน เอาไว้ก่อนเท่านั้น หากเกิดเป็นขึ้นมาก็หมายความว่าจะต้องทำให้ไก่ล้มตายขึ้นเท่านั้น ป้องกันเอาไว้ก่อนที่ไก่จะแสดงอาการออกมา ป้องกันด้วยวัคซีนเท่านั้น ไม่มียาอะไรมารักษาไก่ที่เจ็บป่วยให้ฟื้นคืนดีขึ้นมาได้เลย ต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคเอาไว้ก่อน ให้วัคซีนไก่ตั้งแต่เป็นลูกไก่ ก่อนที่จะเอามาเลี้ยงให้เจริญเติบโตเป็นไก่ใหญ่ หากเกิดเลี้ยงลูกไก่ที่เจ็บออดๆ แอดๆ มองดูเซื่องซึม หงอยเหงาเอาไว้ ก็จะต้องเสี่ยงต่อการเลี้ยงลูกไก่ขี้โรคเอาไว้เพื่อทำให้ลูกไก่อื่นๆ ที่เลี้ยงรวมกันอยู่เกิดมีอันเป็นไป ด้วยกัน อาจจะเกิดโรค นิวคาสเซิล ขึ้นมาก็ได้ เพราะลูกไก่ที่ผิดปกติ สุขภาพไม่ดี เงื่องหงอยนั้นแหละที่จะนำเชื้อโรคดังกล่าวมาติดต่อกับลูกไก่ตัวอื่นๆ อย่าเอามาเลี้ยง รวมกับลูกไก่ที่มีสุขภาพดีเป็นอันขาด ให้แยกออกไปห่างๆ เอาไปทำลายเสียก่อนที่โรคระบาดจะเข้ามา เป็นการตัดไฟเสียแต่ต้นลม ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อเอาลูกไก่มาเลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นไก่อะไรก็ตาม จะต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคเสียก่อนทุกๆตัวทีเดียว
โรค อหิวาต์ไก่

นับว่าเป็นโรคระบาดที่ร้ายแรงอีกโรคหนึ่ง เพราะสามารถสร้างความหายนะให้แก่ไก่ที่เลี้ยงได้มากมายเช่นกัน
อาการของโรค
โดยมากมักจะไม่แสดงอาการอะไรออกมา แล้วลุกเงียบ ไก่จะเฉยๆไม่เห็นมีอะไรผิดปกติเลย อาการเช่นนี้สำคัญมาก เพราะเป็นโรคที่มาเงียบๆ ไก่จะเกิดล้มตายทันทีเมื่อเกิดมีอาการมาก ได้รับเชื้อเข้ามามากจะไม่เหลือเลย
หากอาการของไก่ที่เจ็บป่วยไม่มีอาการรุนแรงนักจะเห็นได้ว่าไก่ที่เลี้ยงเอาไว้จะมีอาการเงื่องหงอยผิดปกติ ซึม ปีกตก หางตก หงอนเหนียงซีดลงอย่างเห็นได้ชัด คอไก่จะพับไปทางเบื้องหลังอย่างประหลาด ไก่จะขี้ออกมาเป็นสีขาวๆ ไก่ไม่กินอาหารเลย ไม่อยากกินเพราะอาการของโรคที่เกิดขึ้น บางตัวอาจจะส่งเสียงหายใจ ออกมาดังครอกๆในลำคอก็ได้เวลานอนบนคอน สังเกตให้ดีคือ ขี้ขาว ผิดธรรมดา
วิธีการป้องกันโรคนี้ก็ด้วยการฉีดวัคซีน ฉีดเมื่อไก่อายุได้ 3 เดือน ฉีดให้ไก่ที่เลี้ยงทุกตัว
โรคฝีดาษไก่

ไก่ก็เป็นโรค ฝีดาษไก่ ได้ซึ่งจะต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคเช่นเดียวกัน ปล่อยปละละเลยไม่ได้เป็นอันขาด มิฉะนั้น เมื่อไก่เกิดเจ็บป่วยขึ้นจะลำบาก เพราะเชื้อโรคจะระบาด ไปกันใหญ่ ป้องกันเอาไว้ดีกว่าแก้ไข ซึ้งทางแก้ไขไม่มีเอาเลย มีแต่ป้องกันไม่ให้เกิดโรคด้วยการให้วัคซีนแก่ไก่เมื่อยังเล็กๆอยู่เท่านั้น
โรคไก่ก็มีอีกได้แก่โรคพยาธิ

เพราะไก่นั้นคุ้ยเขี่ยอาหารไปตามที่ต่างๆ หรือกินอาหารที่อาจจะมีไข่พยาธิปนเปื้อนสะสมอยู่ ไก่จึงเกิดมีพยาธิขึ้น จะต้องใช้ยาถ่ายออกมาอย่างถูกต้อง และระวัง การติดต่อกันกับไก่ตัวอื่นๆ ปฏิบัติให้ดีที่สุด ระวังเรื่องการติดต่อของโรคให้มากเพื่อความไม่ประมาท อย่าให้ผู้ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องเข้าไปในเล้าไก่ หรือในบริเวณที่เลี้ยงไก่ เด็ดขาด เพราะอาจจะนำเชื้อโรคบางอย่างเข้าไปทำให้ไก่เจ็บป่วยได้อย่างนึกไม่ถึง รองเท้าที่สวมใส่ก็เป็นสิ่งสำคัญมากห้ามบุคคลภายนอกเดินไปในเล้าไก่ และบริเวณ ที่เลี้ยงไก่เด็ดขาด หากต้องการจะเข้าไปจะต้องเปลี่ยนรองเท้าที่ใช้ เปลี่ยนเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มที่จัดให้ใหม่ โดยเฉพาะการเลี้ยงไก่เป็นจำนวนมากๆ ในฟาร์มใหญ่ๆทั่วไป ไม่จำเป็นแล้วจะเข้าไปไม่ได้
ภูมิคุ้มกันในไก่

ในการให้ภูมิคุ้มกันโรคในไก่นี้จำเป็นจะต้องใช้วัคซีน เช่นเดียวกับคนเราเช่นเดียวกัน
ไก่ที่ดี สุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ก็จะต้องมีความต้านทานโรคดี ไม่เจ็บป่วยง่ายๆ
ระบบการป้องกันของไก่นั้นมาจากอวัยวะ หรือต่อมที่สำคัญ 2 พวก

- ระบบที่มาจากต่อมเบอร์ซ่า ฟาบริเซียส
- ระบบที่มาจากต่อมธัยมัส
ระบบดังกล่าว หากระบบใด ระบบหนึ่งเกิดสูญเสียไปแล้ว ก็จะทำให้ระบบการคุ้มกันโรคหรือความต้านทานของโรคในไก่ไม่ดีไปด้วย สุขภาพจะเสียไป บางทีก็เกิดโรค ขึ้นได้โดยง่าย แทนที่จะไม่เป็นอะไรเลยก็เกิดเป็นโรคขึ้นมาจนได้
บางทีไก่เกิดไปอยู่ในสถานที่เปียกแฉะ โอกาสเจ็บป่วยก็จะเกิดขึ้นได้ง่าย อาจจะเป็นบิดขึ้นมาก็ได้ แม้ว่าในอาหารของไก่จะมียาป้องกันเชื้อโรคบิดอยู่แล้วก็ตาม แต่ยาก็ป้องกันเป็นบิดได้ ในกรณีที่ไม่มีเชื้อบิดมากเกินขนาดเท่านั้น ไม่ใช่ป้องกันได้เต็ม 100 % โอกาสที่ไก่จะเกิดป่วยเป็นโรคนี้ก็มีอยู่ วัคซีนนั้นนอกจากจะช่วยให้ไก่รู้จักกับระบบความคุ้มกันโรคได้ดีแล้ว ยังช่วยป้องกันการแพร่กระจายของโรคไปยังสถานที่อื่นๆอีกด้วย เช่นจากเล้านี้ต่อเนื่องไปสู่เล้าโน้น และเรื่อยๆไป ไม่มีที่สิ้นสุด ป้องกันไม่ให้เกิดการเพาะเชื้อให้เกิดขึ้นในเล้าไก่มากยิ่งขึ้น อีกทั้งช่วยถ่ายทอดภูมิคุ้มกันจากไก่ทางไข่แดงได้ดีมาก ในการให้วัคซีนไก่นั้นเป็นการช่วยป้องกันโรคหลายๆอย่างที่มักจะสร้างความเสียหายให้กับลูกไก่อายุน้อยๆ ไม่ถึง 3 สัปดาห์ได้มากมาย อีกประการหนึ่ง หากไก่เกิดเป็น โรคขึ้นในระหว่างไข่ ปริมาณของไข่ไก่ก็จะลดลง เพราะแม่ไก่สุขภาพไม่ดีพอ วัคซีนที่ฉีดป้องกันโรคไก่ ทำให้ไก่เกิดมีภูมิคุ้มกัน ช่วยทำให้ไก่ที่เลี้ยงมีสุขภาพดีที่เป็นปกติ ไม่เป็นโรคอะไรได้ง่ายๆ
ระวังอย่าให้ไก่ถูกพิษ แอฟฟล่า

สารแอฟฟล่านั้นเป็นสารพิษที่ร้ายแรงนัก หรือที่เรียกรวมกันว่า แอฟฟล่าท็อกซิน เป็นสารที่เกิดจากเชื้อราหลายชนิด สามารถเจริญเติบโตได้ดีมากในผลิตผลทาง การเกษตรที่นำเอามาเป็นอาหารของคนและสัตว์ ดังที่ได้พบเห็นกันมาแล้ว และมีการพูดกันมาว่า สารพิษแอฟฟล่านี้จะมีอยู่ใน ถั่วลิสงเมล็ดแห้ง ในถั่วลิสงที่คั่วบด หรือป่นละเอียด ป่นหยาบๆ เมื่อเก็บเอาไว้นานๆ เชื้อราแอฟฟล่านี้ก็เจริญงอกงามขึ้นมาได้ในถั่วลิสง ซึ่งเราอาจมองไม่เห็น ในเมื่อเชื้อราที่เป็นสารพิษนี้แอบแฝงอยู่ นอกจากนี้ในถั่วเหลือง ในเมล็ดข้าวโพด หัวหอม หัวกระเทียม พริกขี้หนูแห้ง พริกแห้งเม็ดใหญ่ พริกชี้ฟ้าแห้ง หรือในปลาแห้ง ปลาป่น ปลาเค็ม ปลากรอบ เครื่องเทศ ทั้งหลายมักมีสารพิษนี้อยู่โดยทั่วไป มากบ้าง น้อยบ้างตามสภาพความเก่าเก็บและความชื้นมากน้อยที่มีอยู่ อาการที่ไก่ได้รับสารพิษแอฟฟล่าเข้าไปมากๆ ไก่จะแสดงอาการให้เห็นได้ชัดเจนมากคือ เริ่มแรกๆไก่จะมีการจิกที่ก้นกันอยู่เสมอๆจิกกันไปจิกกันมา ตามจิกกันอยู่เสมอ น่ารำคาญ จากนั้นก็จะเริ่มมีอาการเศร้า ซึม หงอยเหงา ไม่ค่อยจะกินอาหารดังปกติ ปีกตก หน้าซีดเซียว สังเกตได้ชัดเจนมาก เส้นขนก็ยุ่งเหยิง มองดูไม่สมบูรณ์ตาม ปกติ เติบโตช้า หากพบว่าไก่ได้รับสารพิษนี้เข้าไปแน่นอน ก่อนอื่นต้องเอาอาหารซึ่งมีอยู่ที่ให้ไก่กินแล้วเกิดเรื่องนี้ ให้ทำลายเสียทันที แล้วเอาอาหารชุดใหม่มาให้แทน อย่าให้อาหารเก่านั้นอีก เพื่อไก่ที่เลี้ยงจะได้หายป่วยจากสารแอฟฟล่าที่เกิดมาจากเชื้อรานี้ ไก่ก็จะเจริญเติบโตได้ดีเป็นปกติ กินอาหารได้มาก ร่าเริงสดชื่น เป็นปกติ
โรคบิด

โรคบิด ที่เกิดกับไก่นั้นรุนแรงนัก สามารถทำให้ไก่ ล้มตายได้อย่างที่เรียกว่า ตายเป็นเบือ ความจริงแล้วโรคบิดที่เกิดขึ้นกับไก่นี้ก็เหมือนๆกับโรคพยาธิลำไส้ทั่วไป แต่โรคบิดของไก่นี้จะทำให้ไก่กินอาหารได้น้อยลง กินน้ำมากขึ้นจนเกิดอาการผิดปกติในร่างกาย ไก่จะมีอาการ หงอยเหงา ซึม ถ่ายอุจจาระแบบอาการท้องร่วง ปีกก็ตกลงด้วย เวลาถ่ายก็มีเลือดปนออกมา ซึ่งอาจจะเป็นสีแดง สีแดงเข้ม หรือสีน้ำตาลก็ได้ มีอาการ บิดไส้ตันจนอักเสบ เลือดไหลออกมาเป็นสีคล้ำ ไก่อาจจะมีอาการมาก จะตายมากหรือตายน้อยก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคที่เกิดขึ้น ในการที่จะวิจัยว่าไก่เป็นโรคบิดหรือไม่นั้นมีหลักการพิจารณาอยู่ 3 ประการ คือ
1. ไก่มีอาการแสดงว่าเกิดป่วยขึ้นมาแล้ว มี อาการท้องร่วง ถ่ายอุจจาระแบบท้องร่วง
2. อาจจะมีไก่บางตัวเกิดอาการหนักจนตาย เอามาผ่าซากไก่ดูร่องรอยของโรคที่ลำไส้ หรือที่ไส้ตันก็จะทราบดี
3. เอาอุจจาระของไก่มาตรวจดู หรือขูดเอาเยื่อเมือกของลำไส้ หรือเอาไส้ตันของไก่ที่ป่วย มาตรวจดู
การป้องกันโรคบิดในไก่ที่ดีที่สุดมีวิธีปฏิบัติอยู่ 2 วิธีด้วยกัน

วิธีแรก เป็นการใช้วัคซีน
วิธีต่อมา ก็เป็นการเอายาผสมลงไปในอาหารให้ไก่กิน วิธีนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุด ได้ผลดีมากด้วย เนื่องจากมียาชนิดที่ใช้ทำลายเชื้อได้ดี ก็ได้แก่ยาจำพวก เค็กคอก คอยเคน และ ไซโคสเต็ด แล้วก็มียาชนิดอ่อนที่ใช้ป้องกันอีก คือ แอมโปรล พลัส คอแบน และ อาวาเท็ก ซึ่งจะไม่ทำลายเชื้อหมด แต่จะเหลือไว้จำนวนหนึ่งในปริมาณมากพอที่จะ
กระตุ้นให้ไก่สร้างภูมิคุ้มกันโรคไก่ได้
การใช้ยาป้องกันโรคบิด ก็ต้องมีปัจจัยหลายอย่างที่จะต้องพิจารณาถึงข้อดีกันอย่างถี่ถ้วนก่อน เพื่อความแน่นอน เพื่อความถูกต้อง เนื่องจากว่าการให้ไก่กินยา ป้องกันโรคนี้ จะต้องให้ไก่กินโดยตลอดเวลาด้วย ในระยะเวลาที่เลี้ยงไก่ 7-8 สัปดาห์ นอกจากนี้แล้วก็สมควรเป็นยาที่ไม่ผิดสำแดง เมื่อใช้รวมกับยาอื่นๆ แล้วก็จะต้องมีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมป้องกันไม่ให้เกิดโรคบิดอีกด้วย

การป้องกันและรักษาโรคไก่

วิธีป้องกันและควบคุมโรคและพยาธิ วิธีที่ดีที่สุดคือ
* การสุขาภิบาลที่ดี *
การให้วัคซีนป้องกันโรค โดยสม่ำเสมอ การสุขาภิบาล เป็นสิ่งสำคัญมากในการป้องกันโรคและพยาธิไก่
เพราะถ้าการสุขาภิบาลไม่ดีจะเป็นสาเหตุให้ไก่สุขภาพเลวลง ไม่แข็งแรงเป็นโรคต่าง ๆ ได้ง่าย ข้อแนะนำมีดังนี้
1.ควรดูแลทำความสะอาดเล้าและภาชนะต่างๆที่วางไว้ในเล้าไก่และบริเวณใกล้เคียงด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค และอย่าปล่อยให้เล้าชื้นแฉะ เพราะจะเป็นที่หมักหมมของเชื้อโรค
2. สร้างเล้าให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
3. กำจัดแหล่งน้ำสกปรกรอบ ๆ บริเวณบ้าน เล้าไก่ และใกล้เคียง
4. อาหารไก่ต้องมีคุณภาพดี อาหารที่กินไม่หมดให้ทิ้ง อย่าปล่อยให้เน่าเสีย
5. มีน้ำสะอาดให้ไก่กินตลอดเวลา
6. ถ้ามีไก่ป่วยไม่มากนัก ควรกำจัดเสีย และจัดการเผาหรือฝังให้เรียบร้อยจะช่วยกำจัดโรคได้เป็นอย่างดี
7. อย่าทิ้งซากไก่ลงแหล่งน้ำเป็นอันขาด เพราะเชื้อโรคจะแพร่กระจายไปได้
8. กำจัดซากไก่โดยวิธีเผาหรือฝัง ไม่ควรนำไปจำหน่าย เพราะจะทำให้เกิดโรคแพร่ระบาดได้
9. วิธีป้องกันโรคอีกอย่างหนึ่งก็คือเราไม่ควรซื้อไก่สดจากตลาดหรือหมู่บ้านอื่นมากิน เพราะไก่พวกนี้อาจเป็นโรคมาแล้วก็ได้
10. เมื่อมีโรคระบาดเกิดขี้น เจ้าของไก่ควรติดต่อหารือกับสัตวแพทย์โดยเร็ว
การใช้วัคซีนป้องกันโรคระบาดไก่ ถึงแม้ว่าเราจะได้มีการสุขาภิบาลที่ดีแล้ว
แต่โดยปกติในสิ่งแวดล้อมจะมีเชื้อโรคอยู่ ซึ่งสามารถทำให้ไก่เป็นโรคได้ทุกเวลา เราจึงต้องสร้างความต้านทานโรคให้กับไก่ของเรา โดยการใช้วัคซีนป้องกันโรค ควรให้ตั้งแต่อายุน้อยๆ และทำตามตารางที่กำหนดอย่างสม่ำเสมอ เป็นวิธีการป้องกันโรคที่เสียค่าใช้จ่ายน้อย และได้ผลค่อนข้างดี


อวัยวะส่วนสำคัญของไก่ชนอีกอย่างหนึ่ง ที่ในตำราโบราณได้ว่าไว้นั่นคือส่วนที่เรียกว่า "นิ้ว ไก่" ว่ากันว่านิ้วของไก่ตัวใดที่ถูกต้องตามตำรานั้น ย่อมจะแสดงให้เห็นถึงคุณลักษณะของไก่ที่มีความเก่งฉกาจเหนือไก่ธรรมดาโดยทั่วไป โดยตำราโบราณได้กล่าวถึงรายละเอียดของนิ้วไก่ที่ดีดังต่อไปนี้

อวัยวะส่วนสำคัญของไก่ชนอีกอย่างหนึ่ง ที่ในตำราโบราณได้ว่าไว้นั่นคือส่วนที่เรียกว่า "นิ้ว ไก่" ว่ากันว่านิ้วของไก่ตัวใดที่ถูกต้องตามตำรานั้น ย่อมจะแสดงให้เห็นถึงคุณลักษณะของไก่ที่มีความเก่งฉกาจเหนือไก่ธรรมดาโดยทั่วไป โดยตำราโบราณได้กล่าวถึงรายละเอียดของนิ้วไก่ที่ดีดังต่อไปนี้
สุดยอดของไก่ตามตำราที่ว่าไว้ก็คือ ลักษณะ "ก้อย 5 หน้า 21"หรือ "ก้อย 5 หน้า 16 ซึ่งมีอยู่ 2 ลักษณะด้วยกัน โดยตามตำราถือว่าเป็นสูตรของนิ้วไก่ที่ดี และทั้งสองลักษณะดังกล่าวจะมีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป

ลักษณะที่ 1 "ก้อย 5 หน้า 21"

คำว่าก้อยนั้นหมายถึงนิ้วก้อยหลังของไก่ ส่วนคำว่าหน้าก็มีความหมายถึงนิ้วกลางของไก่นั่นเอง สำหรับตัวเลขที่กำกับอยู่นั้น หมายถึงจำนวนของเกล็ดที่มีอยู่บนนิ้วซึ่งจะนับตั้งแต่ปลายเล็บไปถึงโคนนิ้ว ดังนั้นคำว่า "ก้อย 5 หน้า 21" จึงหมายถึงเกล็ดบนนิ้วของไก่ ซึ่งก้อยหลังควรจะมี 5 เกล็ดและนิ้วกลางควรจะมี 21 เกล็ดนั้นเอง
ลักษณะดังกล่าวจะเห็นได้ว่า
เมื่อยามที่ไก่ยืนอยู่เฉยๆ จะมองเห็นเป็นมุมซึ่งเป็นจุดตัดแบ่งแยกระหว่างเกล็ดของนิ้วกับเกล็ดของแข้งพอดี ไก่ตัวใดที่มีนิ้วตรงตามตำรา คือก้อย 5 หน้า 21 ก็ถือได้ว่าเป็นไก่ที่มีนิ้วเป็น "นิ้วขุนนาง" เป็นไก่ที่มีความสามารถในการตีสูง คือตีไก่เจ็บ ตีไก่กลัว และหนีเอาง่ายๆ ถึงแม้ว่าจะโดนเจ็บไม่เท่าไหร่ก็ตาม เรียกว่าตีไก่กลัวง่ายนั้นเอง ไก่ประเภทนี้ ส่วนใหญ่มักจะใช้นิ้วที่ยาวเรียวเป็นอาวุธในการโจมตีคู่ต่อสู้มากกว่าจะใช้เดือย
ลักษณะที่ 2 "ก้อย 5 หน้า 16"

ลักษณะโดยรวมคล้ายคลึงกับไก่นิ้ว "ก้อย 5 หน้า 21" จะต่างกันเพียงจำนวนตัวเลขของเกล็ดนิ้วกลางที่จะมีอยู่เพียง 16 เกล็ด ไก่ประเภทนี้ตามตำรากล่าวเอาไว้ว่าจะเป็นไก่ที่มีฝีตีนจัดจ้านมาก มีความว่องไวสูง มีความหนักหน่วงทุกท่วงทำนองการตี หากตีคู่ต่อสู้ในแต่ละทีมักจะเกิดอาการหักง่ายๆเหมือนกัน
ไก่ที่มีนิ้วประเภทนี้
แม้จะตีคู่ต่อสู้หักไม่กลัวจนหนีไปเหมือนกับไก่ที่มีเกล็ดนิ้วหน้า 21 เกล็ดก็ตาม แต่ก็สามารถที่จะทำให้คู่ต่อสู้หักจนตายได้ง่ายเหมือนกัน เช่นเดียวกับคำที่เรียกว่า "มะขามข้อเดียว" ซึ่งมีพละกำลังเหนือปกติธรรมดานั้นเอง
สำหรับก้อยหลังที่มี 5 เกล็ดนี้
ตามตำราได้กล่าวไว้เช่นกันว่า ไก่ที่มีเกล็ดนิ้วก้อยหลัง 5 เกล็ด หมายถึงจะเป็นไก่ที่มี เพลงตีที่เจ็บปวดและสามารถทำให้คู่ต่อสู้หักได้
ไก่นิ้วงามตามตำรา
จึงหมายถึงไก่ที่มีเกล็ดตรงตามตำราดังกล่าว โดยทั้งก้อยหลังและนิ้วกลางหน้า ควรจะต้องมีครบทั้งหน้าและหลัง ไม่ใช่มีแต่เพียงก้อยหลังอย่างเดียว หรือนิ้วก้อยหน้าเพียงอย่างเดียว จึงจะเรียกได้ว่าเป็นไก่นิ้วงามตามตำราจริงๆ
การนับเกล็ดอย่างถูกวิธีนั้น
กระทำได้โดยก่อนนับให้จับไก่ขึ้นแล้วดูที่โคนนิ้ว จับไก่ให้ยืนอยู่เฉยๆ แล้วเริ่มนับตั้งแต่เกล็ดที่อยู่ตรงมุมพับของนิ้วพอดีเป็นเกล็ดแรก หากมีการทับกันระหว่างเกล็ดหน้าแข้งกับเกล็ดนิ้ว จะต้องดูให้ดี ต้องแยกให้ชัดเจนว่าเกล็ดที่ถูกทับนั้นเป็นเกล็ดของนิ้วหรือเกล็ดของแข้งกันแน่
วิธีสังเกตง่ายๆก็คือ
ให้แหวกดู ถ้าเกล็ดหงายขึ้นก็ถือว่าเป็นเกล็ดของนิ้ว หากเกล็ดตะแคงข้างก็ให้สรุปไปเลยว่าเป็นเกล็ดของแข้ง ให้เริ่มนับมาจนถึงปลายนิ้ว ว่ามีกี่เกล็ด หากถูกต้องตามตำราก็ถือว่าเป็นไก่ที่มีนิ้วงามถูกต้องตามตำราโบราณ
โดยทั่วไปแล้ว ไก่ที่มีเกล็ดนิ้วงามตามตำรา จะมีอยู่ไม่มากมายนัก จัดได้ว่าหายากพอสมควร ซึ่งโดยปกติทั่วไปแล้ว ก้อยหลังของไก่ส่วนใหญ่จะมีอยู่ 6 เกล็ดและนิ้วกลางจะมีอยู่ 19-20 เกล็ดเท่านั้น


15 กรกฎาคม 2552


ไก่เหลืองหางขาว มี 3 เฉดสี


ไก่เหลืองหางขาว มี 3 เฉดสี คือ

1. สีเหลืองแก่สดในดังสีทองคำ เรียกเหลืองใหญ่ เป็นพญาไก่ สุดยอดของไก่ทั้งหมดทั้งปวง

2. สีเหลืองกลางดังสีทองทา เรียกเหลืองรวกหรือเหลืองเวก เป็นรองเหลืองใหญ่

3. สีเหลืองอ่อนดังสีทองเปลว เรียกเหลืองดอกโสนหรือเหลือง เป็นรองจากเหลืองรวก สรุป ลักษณะเด่นประจำพันธุ์ของไก่เหลืองหางขาวตัวผู้ รูปร่างสูงระหง ตระหง่าน สง่างาม หน้าแหลมคางรัด หงอนเล็กเป็นหงอนหินกลมกลึง หน้าหงอนบาง กลางหงอนสูง ปลายหงอนกดกระหม่อม ตาสีเหลืองอ่อน หรือขาวซีด มีประกายแจ่มใส เรียกตาปลาหมอตาย ปากมีร่องน้ำ สีปาก แข้ง เกล็ด เล็บ เดือย สีขาวอมเหลืองดังสีงาช้าง รับกับตา ผิวหน้าราบเรียบแดงสดใส ขนพื้นตัวสีดำสนิท ขนปิดหู ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง และระย้าเป็นสีเหลืองสดใสสีเดียวกัน หางพัดยาวดำ หางกระรวยดำยาว มีสีขาว ปีกในสีดำ ปีกไชนอกแซมขาว ที่สำคัญมีหย่อมกระ 5 หย่อมที่หัว หัวปีก และข้อขา คนโบราณเรียกไก่พระเจ้าห้าพระองค์ ไก่เหลืองหางขาวที่เป็นไก่งามตามตำราโบราณก็คือ “ไก่เหลืองหางขาวพระเจ้าห้าพระองค์” ซึ่งเป็นหนึ่งในไก่มงคลโบราณ 5 ประเภท คือ ไก่พระเจ้าห้าพระองค์ ไก่พญาหงส์ ไก่ทรงไตรภพ ไก่จบกระบวนยุทธ และไก่พูดรู้ภาษา ไก่เหลืองหางขาวพระเจ้าห้าพระองค์เป็นไก่พันธุ์แท้แต่โบราณ ปัจจุบันสายพันธุ์แท้ๆ ที่มีลักษณะประจำพันธุ์ครบ จะหายากมาก



   ลักษณะไก่เหลืองหางขาว  


ขนาด     เพศผู้ มีน้ำหนักตั้งแต่ 3 กิโลกรัมขึ้นไป สูงตั้งแต่ 60 เซนติเมตรขึ้นไป (วัดจากใต้ปากล่างตั้งฉากกับ
พื้นที่ยืน)  และ  เพศเมีย มีน้ำหนักตั้งแต่ 2 กิโลกรัมขึ้นไป สูงตั้งแต่ 45 เซนติเมตรขึ้นไป

ลักษณะประจำพันธุ์ไก่ชนนเรศวร   ลักษณะเพศผู้หรือพ่อพันธุ์ไก่ชนนเรศวร
    1. หัว     มีขนาดเล็กคล้ายหัวนกยูง

   1.1    กะโหลก
กะโหลกอวบกลมยาว 2 ตอนส่วนหน้าเล็กกว่าส่วนท้าย
   1.2    หน้า
ลักษณะคล้ายหน้านกยูง มีสีแดงจัด
   1.3    ปาก
รูปร่างคล้ายปากนกแก้ว ลักษณะแข็งแรงมั่นคงมีสีขาวอมเหลือง โคนปากใหญ่ขอบปากและปลายปากคม ปากบนปิดปากล่างสนิท ปากบนมีร่องลึกตังแต่โคน ตรงรูจมูกถึงกลางปาก
   1.4    หงอน
ลักษณะหน้าหงอนบาง กลางหงอนสูง ปลายหงอนกดกระหม่อม มีสีแดงจัด
   1.5    จมูก
รูจมูกกว้างและยาว ฝาปิดรูจมูกมีสีขาวอมเหลือง
   1.6    ตา
มีขนาดเล็ก ตาขาวมีสีขาวอมเหลือง (ตาปลาหมอตาย) มีเส้นเลือดแดงโดยรอบหัวตาแหลมเป็นรูปตัว V มีลักษณะเรียวและสดใส
   1.7    หู
หูทั้งสองข้างมีขน 3 สี คือ สีขาว สีเหลือง และสีดำ ขนหูมีมากปิดรูสนิท ไม่มีขี้หู
   1.8    ตุ้มหู
ตุ้มหูเป็นเนื้อแดงจัดเหมือนสีของหน้าขนาดไม่ใหญ่ และไม่ยาน
   1.9    เหนียง
ต้องไม่มี (ลักษณะคางรัดเฟ็ด)
   1.10  คิ้ว
โหนกคิ้วนูนเป็นสันโค้งบังเบ้าตา


2. คอ    คอยาว (2 วง) และใหญ่ กระดูกข้อถี่

3. ลำตัว   ลำตัวกลมยาว (ทรงหงส์) จัดได้ 2 ท่อน

   3.1  ไหล่
กระดูกซอกคอใหญ่ ไหล่กว้าง
   3.2  อก
อกกว้างใหญ่ กล้ามเนื้อเต็ม กระดูกหน้าอกแข็งแรงโค้งเป็นท้องเรือและยาว (ไม่คดงอ)
   3.3  กระปุกหาง
มีขนาดใหญ่ชิดกับบั้นท้าย
   3.4  ต่อมน้ำมัน
มีขนาดใหญ่ 1 ต่อม อยู่บนกระปุกหาง
   3.5  ตะเกียบก้น
เป็นกระดูก 2 ชิ้น ออกจากกระดูกซี่โครงคู่สุดท้ายยาวมาถึงก้น แข็งแรง หนาโค้งเข้าหากัน และอยู่ชิดกัน


4. ลำตัว   ปีกเมื่อยางออก จะเห็นกล้ามเนื้อปีกใหญ่หนาตลอดทั้งปีก เอ็นยึดกระดูกแข็งแรง ขนปีกขึ้นหนาแน่นมิดชิด
                 มีความยาวเรียงติดต่อกันจนหัวปีก ถึงท้ายปีก และยาวถึงกระปุกหาง

5. ขา   ได้สัดส่วนกับลำตัว

   5.1  ปั้นขา
กล้ามเนื้อโคนขาใหญ่ทั้งสองข้าง เวลายืนโคนขาอยู่ห่างกัน
   5.2  แข้ง
มีลักษณะเรียวเล็กกลม สีขาวอมเหลือง
   5.3  เดือย
โคนมีขนาดใหญ่ ต่ำชิดนิ้วก้อย ส่วนปลายเรียวแหลมคม และงอนเล็กน้อย มีสีขาวอมเหลือง


6. เท้า    มีความสมบูรณ์ คือ นิ้วครบ ไม่คดงอ

   6.1   นิ้ว
มีลักษณะยาว ปลายเรียว มีทองปลิงใต้ฝ่าเท้า นิ้วจะมีปุ่มตรงข้อลักษณะคล้ายเนื้อด้านนิ้วละ 3 ข้อ นิ้วกลางมีเกล็ดตั้งแต่ 20 เกล็ดขึ้นไป ส่วนนิ้วก้อยจะสั้น
   6.2  อุ้งตีน
หนังอุ้งตีนบาง เวลายืนอุ้งตีนไม่ติดพื้น
   6.3  เล็บ
โคนเล็บใหญ่ หนา แข็งแรง ปลายแหลม มีสีเหมือนแข้ง คือขาวอมเหลือง


7. ขน   ขนเป็นมัน เงางามระยับ

   7.1  ขนพื้น
มีสีดำตลอดลำตัว
   7.2  สร้อย
มีลักษณะ “สร้อยประบ่า ระย้าประก้น” คือ สร้อยคอ ขึ้นหนาแน่นยาวประบ่า สร้อยหลังยาวระย้าประถึงกัน มีลักษณะเส้นเล็กละเอียดปลายแหลม ส่วนสร้อยปีกและสนับปีกมีสีเดียวกัน
   7.3  ขนปีก
ปีกนอก (ตั้งแต่หัวปีกถึงกลางปีก) มีไม่น้อยกว่า 11 เส้น
           ปีกใน
(ตั้งแต่กลางปีกถึงปลายปีก) มีสีดำไม่น้อยกว่า 12 เส้น
           ปีกนอก
(ปีกนอกปีกแซม) มีสีขาวไม่น้อยกว่า 2 เส้น เมื่อหุบปีกจะมองเห็นสีขาวแลบออกมาตามแนวยาวของปีก 2 – 3 เส้น เมื่อกางปีกออกจะมองเห็นปีกนอกมีสีขาวเป็นจำนวนมาก


8. หาง   ยาวเป็นพวงและเป็นพุ่มเหมือนฟ่อนข้าว

   8.1  หางพัด
มีข้างละไม่น้อยกว่า 7 เส้น มีสีขาวเป็นจำนวนมาก
   8.2  หางกะลวย
คือ ขนหางคู่กลางซึ่งเป็นหางเอกจะมีสีขาวปลอดทั้งเส้น มีขนรองหางกะลาย หรือหางรับไม่น้อยกว่า 6 เส้น และมีสีขาวเป็นจำนวนมาก
   8.3  ระย้าหลัง
เป็นส่วนหนึ่งที่ต่อจากสร้อยหลัง มีลักษณะปลายแหลมปกคลุมกระปุกหาง ขอบขนมีสีเหลืองเหมือนร้ายหลัง


9. หลัง   หลังแผ่แบนขยายใหญ่

10.  กิริยาท่าทาง

   10.1  ท่ายืน
ยืนยืดอก หัวปีกยก ท่าผงาดดังราชสีห์
   10.2  ท่าเดินและวิ่ง
ท่าเดิน สง่าเหมือนท่ายืน เวลาเดินเมื่อยกเท้าขึ้นจะกำนิ้วทั้งหมด เมื่อย่างลงเกือบถึงพื้นดินจะแบนิ้วออกทั้งหมด เวลาวิ่ง จะวิ่งด้วยปลายนิ้ว และวิ่งย่อขาโผตัวไปข้างหน้าเสมอ
   10.3  ท่าขัน
ขันเสียงใหญ่ ยาว ขอบกระพือปีก และตีปีกแรงเสียงดัง


11.  ลักษณะพิเศษ

   11.1  พระเจ้าห้าพระองค์
คือ หย่อมกระ (มีขนสีขาวแซม) 5 แห่ง ได้แก่ 1. หัว  2. หัวปีกทั้งสอง  3. ข้อขาทั้งสอง
   11.2  เกล็ดสำคัญ
ได้แก่ เกล็ดพิฆาต เช่นเสือซ่อมเล็บ เหน็บชั้นใน ไชบาดาล เกล็ดผลาญศัตรู นอกจากนี้ยังมีเกล็ดกากบาท จักรนารายณ์ ฯลฯ
   11.3  สร้อยคอ สร้อยหลัง สร้อยปีก (สนับปีก)
เป็นสีเหลืองทอง เรียกว่า เหลืองประภัสสร
  11.4  สร้อยสังวาลย์
เป็นสร้อยบริเวณด้านข้างลำตัว มีลักษณะและสีเดียวกับสร้อยคอ และสร้อยหลัง
  11.5  ก้านขนสร้อย และหองกะลาย
มีสีขาว
  11.6  บัวคว่ำ – บัวหงาย
บริเวณด้านใต้โคนหางเหนือทวารหนัก มีขนประสานกันลักษณะแหลมไปที่โคนหางดูคล้ายบัวคว่ำ – บัวหงาย